วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

แบบฝึกหัดวาดภาพ "จรวด"

Understanding Design Concept
ในแบบฝึกหัดนี้ ได้รับคำสั่งให้วาดรูป 8 รูปด้วยความเร็วโคยที่ไม่บอกว่าจะให้วาดรูปอะไรแล้วจะเอารูปทั้ง 8 รูปนี้ไปทำอะไร รูปที่ 1
ในรูปแรกนี้พอรู้ว่าต้องวาดรูปจรวด ในความคิดแรกคือจรวดต้องมีส่วนหัว ตัว หน้าต่าง และก็มีไอพ่นๆไฟออกมา ด้วยเวลาที่เร่งรัดนี้ทำให้การสเก็ตภาพๆนี้ออกมาแบบเรียบๆไม่ใส่รายละเอียดมากนัก
รูปที่ 2
ในรูปนี้ได้รับคำสั่งว่าให้วาดรูปจรวดอีก แต่ด้วยความที่เวลามีไม่มากนักในการตัดสินใจ จึงนึกถึง พุจรวดหรือดอกไม้ไฟที่ใช้ในงานมงคล เช่น งานลอยกระทง วันปีใหม่ เป็นต้นจึงได้วาดรูปนี้ออกมา

รูปที่ 3
ในรูปนี้ก็เป็นการวาดรูปจรวดอีกตามเคย ซึ่งก็พอจะเดาได้คร่าวๆแล้วว่ารูปต่อๆไปก็คงเป็นจรวดอีกแน่ๆ ในภาพนี้จึงนึกต่อไปอีกว่า เมื่อจรวดบินขึ้นไปบนฟ้าแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ ซึ่งบางครั้งถ้ามีความผิดพลาดจรวดก็จะดิ่งลงสู่พื้นดินแทนที่จะขึ้นไปยังนอกโลก จึงได้นำความคิดนี้มาเขียนเป็นภาพที่ 3


รูปที่ 4
รูปนี้ตรงกับความคาดเดาที่คิดไว้ตั้งแต่ภาพที่ 3 จึงได้ทำอะไรที่แตกต่างจากสามภาพที่ผ่านมา นั่นคือ การเขียนคำว่า จรวด แทนการวาดรูป




รูปที่ 5
ในรูปนี้ก็เช่นเดียวกับภาพที่ 4 แค่เปลี่ยนจากภาษาไทย (จรวด) เป็นภาษาอังกฤษ (Rocket) เท่านั้น





รูปที่ 6
ในภาพนี้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าต้องวาดรูปจรวดอีก แต่ก็เริ่มคิดไม่ออกแล้วว่าจะวาดออกมาแบบใดให้แตกต่างจากห้าภาพที่ผ่านมา จึงลองวาดรูปจรวดโดยการปรับรูปแบบใหม่ให้มีความบิดเบี้ยวขึ้น แต่รูปทรงก็ยังคงความเป็นจรวดอยู่ นั่นคือมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีหัวแหลม และมีหน้าต่างเหมือนรูปที่ 1




รูปที่ 7
ในรูปนี้ต้องพูดตามตรงเลยว่าคิดแทบไม่ออกแล้วว่าจะวาดภาพจรวดยังไงดี ก็เลยคิดว่าถ้าจรวดเกิดจากรูปทรงเรขาคณิตชนิดอื่นๆบ้างจะเป็นอย่างไร จึงวาดจรวดที่เกิดจากการนำทรงกลมมาใช้





รูปที่ 8
ในรูปสุดท้ายนี้ก็ไม่อยากวาดรูปตัวจรวดอีกต่อไปแล้ว เพราะภาพแรกๆมีแต่การวาดลำตัวของจรวด ถ้าเป็นคนชมภาพศิลปะก็คงจะเกิดความรู้สึกเบื่อ เนื่องมาจากความซ้ำซากของภาพ จึงเลือกที่จะวาดเพียงบางส่วนของจรวดที่เวลาใครมองก็น่าจะรู้ว่าคือส่วนหนึ่งของมัน







ไม่มีความคิดเห็น: