วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
Dot Design (Ex)
ปัญหาที่เกิดในการทำงาน
จากกระบวนการทำงานเบื้องต้นในระหว่างทำงานนั้นได้พบปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบหน่วยย่อยแต่ละหน่วยของระบบ Sequence นั้นคือการสื่อสารภาพของ อะตอม จนไปถึง หลุมดำนั้นในตอนแรกคิดไว้ว่าจะจำลองให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด หรือไม่ก็เป็นเส้นแบบเรียบง่าย แต่พอนึกยอนกลับไปว่าทำไมต้องทำให้เหมือนจริงหรือเป็นเส้นแบบเรียบง่ายด้วยในเมื่อโครงการออกแบบนี้สิ่งที่ต้องการจริงๆคืดการอธิบายระบบของ Sequence ที่เราสนใจและนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบให้สื่อสารออกแบบได้ดีที่สุด ณ ตอนนี้จึงมองกลับไปที่โครงสร้างของระบบและมาคิดทบทวนใหม่ว่าจะออกแบบอย่างไรดี
Sketch Unit for Sequence 02
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ลำดับที่เกิดขึ้นใหม่ ของSequence
แบบฝึกหัดวาดภาพ "จรวด"
Understanding Design Concept
ในแบบฝึกหัดนี้ ได้รับคำสั่งให้วาดรูป 8 รูปด้วยความเร็วโคยที่ไม่บอกว่าจะให้วาดรูปอะไรแล้วจะเอารูปทั้ง 8 รูปนี้ไปทำอะไร รูปที่ 1
ในรูปแรกนี้พอรู้ว่าต้องวาดรูปจรวด ในความคิดแรกคือจรวดต้องมีส่วนหัว ตัว หน้าต่าง และก็มีไอพ่นๆไฟออกมา ด้วยเวลาที่เร่งรัดนี้ทำให้การสเก็ตภาพๆนี้ออกมาแบบเรียบๆไม่ใส่รายละเอียดมากนัก
ในแบบฝึกหัดนี้ ได้รับคำสั่งให้วาดรูป 8 รูปด้วยความเร็วโคยที่ไม่บอกว่าจะให้วาดรูปอะไรแล้วจะเอารูปทั้ง 8 รูปนี้ไปทำอะไร รูปที่ 1
ในรูปแรกนี้พอรู้ว่าต้องวาดรูปจรวด ในความคิดแรกคือจรวดต้องมีส่วนหัว ตัว หน้าต่าง และก็มีไอพ่นๆไฟออกมา ด้วยเวลาที่เร่งรัดนี้ทำให้การสเก็ตภาพๆนี้ออกมาแบบเรียบๆไม่ใส่รายละเอียดมากนัก
รูปที่ 2
ในรูปนี้ได้รับคำสั่งว่าให้วาดรูปจรวดอีก แต่ด้วยความที่เวลามีไม่มากนักในการตัดสินใจ จึงนึกถึง พุจรวดหรือดอกไม้ไฟที่ใช้ในงานมงคล เช่น งานลอยกระทง วันปีใหม่ เป็นต้นจึงได้วาดรูปนี้ออกมา
ในรูปนี้ได้รับคำสั่งว่าให้วาดรูปจรวดอีก แต่ด้วยความที่เวลามีไม่มากนักในการตัดสินใจ จึงนึกถึง พุจรวดหรือดอกไม้ไฟที่ใช้ในงานมงคล เช่น งานลอยกระทง วันปีใหม่ เป็นต้นจึงได้วาดรูปนี้ออกมา
รูปที่ 3
ในรูปนี้ก็เป็นการวาดรูปจรวดอีกตามเคย ซึ่งก็พอจะเดาได้คร่าวๆแล้วว่ารูปต่อๆไปก็คงเป็นจรวดอีกแน่ๆ ในภาพนี้จึงนึกต่อไปอีกว่า เมื่อจรวดบินขึ้นไปบนฟ้าแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ ซึ่งบางครั้งถ้ามีความผิดพลาดจรวดก็จะดิ่งลงสู่พื้นดินแทนที่จะขึ้นไปยังนอกโลก จึงได้นำความคิดนี้มาเขียนเป็นภาพที่ 3
ในรูปนี้ก็เป็นการวาดรูปจรวดอีกตามเคย ซึ่งก็พอจะเดาได้คร่าวๆแล้วว่ารูปต่อๆไปก็คงเป็นจรวดอีกแน่ๆ ในภาพนี้จึงนึกต่อไปอีกว่า เมื่อจรวดบินขึ้นไปบนฟ้าแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ ซึ่งบางครั้งถ้ามีความผิดพลาดจรวดก็จะดิ่งลงสู่พื้นดินแทนที่จะขึ้นไปยังนอกโลก จึงได้นำความคิดนี้มาเขียนเป็นภาพที่ 3
รูปที่ 4
รูปนี้ตรงกับความคาดเดาที่คิดไว้ตั้งแต่ภาพที่ 3 จึงได้ทำอะไรที่แตกต่างจากสามภาพที่ผ่านมา นั่นคือ การเขียนคำว่า จรวด แทนการวาดรูป
รูปที่ 5
ในรูปนี้ก็เช่นเดียวกับภาพที่ 4 แค่เปลี่ยนจากภาษาไทย (จรวด) เป็นภาษาอังกฤษ (Rocket) เท่านั้น
รูปที่ 6
ในภาพนี้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าต้องวาดรูปจรวดอีก แต่ก็เริ่มคิดไม่ออกแล้วว่าจะวาดออกมาแบบใดให้แตกต่างจากห้าภาพที่ผ่านมา จึงลองวาดรูปจรวดโดยการปรับรูปแบบใหม่ให้มีความบิดเบี้ยวขึ้น แต่รูปทรงก็ยังคงความเป็นจรวดอยู่ นั่นคือมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีหัวแหลม และมีหน้าต่างเหมือนรูปที่ 1
รูปนี้ตรงกับความคาดเดาที่คิดไว้ตั้งแต่ภาพที่ 3 จึงได้ทำอะไรที่แตกต่างจากสามภาพที่ผ่านมา นั่นคือ การเขียนคำว่า จรวด แทนการวาดรูป
รูปที่ 5
ในรูปนี้ก็เช่นเดียวกับภาพที่ 4 แค่เปลี่ยนจากภาษาไทย (จรวด) เป็นภาษาอังกฤษ (Rocket) เท่านั้น
รูปที่ 6
ในภาพนี้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าต้องวาดรูปจรวดอีก แต่ก็เริ่มคิดไม่ออกแล้วว่าจะวาดออกมาแบบใดให้แตกต่างจากห้าภาพที่ผ่านมา จึงลองวาดรูปจรวดโดยการปรับรูปแบบใหม่ให้มีความบิดเบี้ยวขึ้น แต่รูปทรงก็ยังคงความเป็นจรวดอยู่ นั่นคือมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีหัวแหลม และมีหน้าต่างเหมือนรูปที่ 1
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
Design Process 02
ในขั้นตอนนี้ได้ลองหาวิธีปรับระบบในการลำดับข้อมูลจึงลองนำข้อมูลทั้งหมด print ออกมาแล้วลองจัดเรียงดู
วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
07.07.07
วันที่ 7 เดือน 7 ปี 07 กับ
กับบาป 7 ประการ ในทัศนะของ "มหาตมา คานธี"ซึ่งมหาตมา คานธีเขียนไว้ในหนังสือเชิงอัตชีวประวัติของท่านเรื่อง “The Story of My Experiments with Truth” เมื่อปีค.ศ. 1925อาจารย์กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย ปราชญ์ไทยผู้เชี่ยวชาญภารตวิทยาและภาษาฮินดีแปลหนังสือเล่มนี้ ไว้เป็นภาษาไทยว่า“ข้าพเจ้าทดลองความจริง : อัตชีวประวัติของมหาตมา คานธี”พิมพ์รวมเล่มครั้งแรกเมื่อปี 2525Politics
without principles.
เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ
Pleasure without conscience.
หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด
Wealth without work.
ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน
knowledge without character.
มีความรู้มหาศาลแต่ความพฤติไม่ดี
Commerce without morality.
ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลหลักธรรม
Science without humanity.
วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์
Worship without sacrifice.
บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ
กับบาป 7 ประการ ในทัศนะของ "มหาตมา คานธี"ซึ่งมหาตมา คานธีเขียนไว้ในหนังสือเชิงอัตชีวประวัติของท่านเรื่อง “The Story of My Experiments with Truth” เมื่อปีค.ศ. 1925อาจารย์กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย ปราชญ์ไทยผู้เชี่ยวชาญภารตวิทยาและภาษาฮินดีแปลหนังสือเล่มนี้ ไว้เป็นภาษาไทยว่า“ข้าพเจ้าทดลองความจริง : อัตชีวประวัติของมหาตมา คานธี”พิมพ์รวมเล่มครั้งแรกเมื่อปี 2525Politics
without principles.
เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ
Pleasure without conscience.
หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด
Wealth without work.
ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน
knowledge without character.
มีความรู้มหาศาลแต่ความพฤติไม่ดี
Commerce without morality.
ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลหลักธรรม
Science without humanity.
วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์
Worship without sacrifice.
บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
วิธีคิดแบบ โสคราตีส (Socrates)
โสคราตีส เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ คือ เป็นสากล เที่ยงแท้แน่นอน เป็นความรู้ในความจริง และมีความรู้ชนิดเดียวคือ ความรู้ชนิดที่ทำให้ผู้รู้รักความจริง เทิดทูนคุณธรรม สามารถคิดและทำได้อย่างถูกต้อง
โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือธีคิด ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself) ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
วิธีการที่โสคราตีสใช้ในการศึกษาตนเองก็คือ การคิดตรึกตรองในขณะจิตสงบ และอีกวิธีหนึ่งคือ การถาม-ตอบ หรือที่เรียกว่า วิธีการของโสคราตีส (Socratic Method) ประกอบด้วย
1. สงสัยลังเล (skeptical) โสคราตีสจะเริ่มต้นด้วยการยกย่องคนอื่น พร้อมกับขอร้องให้ช่วยอธิบายเรื่องที่ยังไม่กระจ่างให้ฟัง เช่น ความรัก ความงาม คุณธรรม ความยุติธรรม ความรู้ เป็นต้น
2. สนทนา (conversation) โสคราตีสจะเป็นผู้ตั้งคำถามให้คู่สนทนาเป็นผู้ตอบ เขาเชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้คู่สนทนาเปิดเผยความจริงที่มีอยู่ในตัวเองออกมา โดยมีเขาเป็นเพียงผู้ช่วย ไม่ใช่ผู้นำความรู้ไปให้ เพราะความรู้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ขอเพียงนำออกมาให้ถูกวิธี
3. หาคำจำกัดความ (conceptional หรือ definitional ) โสคราตีส เชื่อว่าความจริงมาตรฐานจะแฝงอยู่ในคำจำกัดความ หรือคำนิยาม ที่สมบูรณ์ เช่น ความยุติธรรม หากเรายังไม่รู้ว่า ความยุติธรรมคืออะไร เราก็ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักว่าการกระทำใดยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เป็นต้น ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการเสนอคำนิยามศัพท์ และพยายามขัดเกลาคำนิยามนั้นให้บกพร่องน้อยที่สุด
4. ทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการยกตัวอย่างที่มีสภาพแวดล้อมต่างกันมาช่วยโต้แย้งเพื่อขัดเกลาคำนิยาม คำนิยามใดที่ยังโต้แย้งได้ก็แสดงว่ายังไม่สมบูรณ์ จะต้องหาคำจำกัดความที่ทุกคนยอมรับโดยไม่มีข้อแย้ง
5. สรุปกฎเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป รวมถึงการพิสูจน์คำนิยามดังกล่าวด้วย
โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือธีคิด ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself) ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
วิธีการที่โสคราตีสใช้ในการศึกษาตนเองก็คือ การคิดตรึกตรองในขณะจิตสงบ และอีกวิธีหนึ่งคือ การถาม-ตอบ หรือที่เรียกว่า วิธีการของโสคราตีส (Socratic Method) ประกอบด้วย
1. สงสัยลังเล (skeptical) โสคราตีสจะเริ่มต้นด้วยการยกย่องคนอื่น พร้อมกับขอร้องให้ช่วยอธิบายเรื่องที่ยังไม่กระจ่างให้ฟัง เช่น ความรัก ความงาม คุณธรรม ความยุติธรรม ความรู้ เป็นต้น
2. สนทนา (conversation) โสคราตีสจะเป็นผู้ตั้งคำถามให้คู่สนทนาเป็นผู้ตอบ เขาเชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้คู่สนทนาเปิดเผยความจริงที่มีอยู่ในตัวเองออกมา โดยมีเขาเป็นเพียงผู้ช่วย ไม่ใช่ผู้นำความรู้ไปให้ เพราะความรู้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ขอเพียงนำออกมาให้ถูกวิธี
3. หาคำจำกัดความ (conceptional หรือ definitional ) โสคราตีส เชื่อว่าความจริงมาตรฐานจะแฝงอยู่ในคำจำกัดความ หรือคำนิยาม ที่สมบูรณ์ เช่น ความยุติธรรม หากเรายังไม่รู้ว่า ความยุติธรรมคืออะไร เราก็ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักว่าการกระทำใดยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เป็นต้น ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการเสนอคำนิยามศัพท์ และพยายามขัดเกลาคำนิยามนั้นให้บกพร่องน้อยที่สุด
4. ทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการยกตัวอย่างที่มีสภาพแวดล้อมต่างกันมาช่วยโต้แย้งเพื่อขัดเกลาคำนิยาม คำนิยามใดที่ยังโต้แย้งได้ก็แสดงว่ายังไม่สมบูรณ์ จะต้องหาคำจำกัดความที่ทุกคนยอมรับโดยไม่มีข้อแย้ง
5. สรุปกฎเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป รวมถึงการพิสูจน์คำนิยามดังกล่าวด้วย
วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ควอนตัมฟิสิกส์ (quantum physics)
นักฟิสิกส์พบสัจธรรมว่า “ควาร์ก” (quark) ซึ่งเป็นสารก่อนอนุภาคนั้น มีภาวะสลับไปมาระหว่างมวลสารที่หาตัวตนได้ กับภาวะที่ไม่มีมวลจึงทำให้หาตัวตนไม่พบ เปลี่ยนแปลงระหว่างความมีกับความไม่มี จนทำให้เกิดเป็นทฤษฎีไร้ระบบ (Chaos) หรือความไม่แน่นอนของสรรพสิ่งในจักรวาล
ทฤษฎีไร้ระเบียบ ยอมรับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Butterfly Effect คือ สิ่งเล็ก ๆ ที่ดูไร้ความหมาย สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ได้ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในจุดที่ห่างไกล ที่ดูเผิน ๆ แล้วเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน
แนวคิดแบบองค์รวมจะไม่สามารถมองและเข้าใจได้ว่า สิ่งแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตแยกออกจากมนุษย์ และไม่คิดว่ามนุษย์แต่ละคน แต่ละครอบครัว แต่ละเผ่าพันธุ์ แต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ หรือแต่ละเชื้อชาติ แยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
โลกในทัศนะแบบองค์รวมจึงเป็นความสัมพันธ์และการผสานเข้าด้วยกันของสรรพสิ่ง ระบบต่าง ๆ คือองค์รวมที่ผสานเป็นหนึ่งเดียว การมองโลกต้องมองทั้งหมด เพราะความเป็นจริงทั้งหมดของสิ่งใด ย่อมมีคุณสมบัติพิเศษสำคัญเฉพาะตน ซึ่งไม่อาจเข้าใจได้หากจะแยกออกเป็นหน่วยย่อยแล้วศึกษา
ทฤษฎีไร้ระเบียบ ยอมรับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Butterfly Effect คือ สิ่งเล็ก ๆ ที่ดูไร้ความหมาย สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ได้ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในจุดที่ห่างไกล ที่ดูเผิน ๆ แล้วเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน
แนวคิดแบบองค์รวมจะไม่สามารถมองและเข้าใจได้ว่า สิ่งแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตแยกออกจากมนุษย์ และไม่คิดว่ามนุษย์แต่ละคน แต่ละครอบครัว แต่ละเผ่าพันธุ์ แต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ หรือแต่ละเชื้อชาติ แยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
โลกในทัศนะแบบองค์รวมจึงเป็นความสัมพันธ์และการผสานเข้าด้วยกันของสรรพสิ่ง ระบบต่าง ๆ คือองค์รวมที่ผสานเป็นหนึ่งเดียว การมองโลกต้องมองทั้งหมด เพราะความเป็นจริงทั้งหมดของสิ่งใด ย่อมมีคุณสมบัติพิเศษสำคัญเฉพาะตน ซึ่งไม่อาจเข้าใจได้หากจะแยกออกเป็นหน่วยย่อยแล้วศึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)